วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554




....  ป ลูก ป่  เ ล ....


คณะภูมิสารสนเทศศาตร์ปลูกป่าชายเลน @ท้องตมใหญ่  ชุมพร    



เนื่องด้วยปัจจุบันนี้ โลกของเรากำลังได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมเป็ยอย่างมาก เช่น ภาวะเรือนกระจก  มลพิษทางอากาศ มลพิษทางดิน มลพิษทางขยะ มลพิษทางน้ำ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้ภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไปและอุณหภูมิของโลกก็สูงขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากเราใช้ทรัพยากรอย่างฟุ้มเฟือย โดยที่ไม่คำนึงถึงความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ได้มีการรณรงค์ ปลูกป่าชายเลน เพราะป่าชายเลนนั้นเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ เป็นที่ทำกินของชาวประมงพื้นบ้าน และต้นโกงกางหรือต้นไม้ที่อยู่ในทะเลก็สามารถเป็นตัวผ่อนแรงของคลื่นที่พัดเข้ามายังชายฝั่งได้  และถ้าเราไม่มีต้นโกงกางหรือต้นไม้เป็นตัวผ่อนความแรง อาจทำให้ชายฝั่งเกิดการพังทะลายลงมาได้ เพราะฉะนั้นเราควรช่วยกันปลูกต้นไม้และรักษาทรัพยากรที่มีอยู่ให้อยู่กับเราไปนานๆ 




....วิธีการปลูก....


ฝักต้นโกงกาง



ฝักที่ปักไปในดินแล้ว


....การใช้ฝักในการปลูก....


โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก รังกะแท้ และโปรงแดง สามารถใช้ฝักปักลงในพื้นดินได้ทันที โดยในการปักควรจับฝักห่างจากโคนประมาณหนึ่งในสาม ของความยาวของฝักและให้ส่วนโคนของฝักอยู่ทางด้านนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ คือให้มีลักษณะเหมือนกำฝักไว้ในอุ้งมือ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถปักลงไปได้สะดวกและอยู่ในแนวดิ่ง โดยเมื่อปักลงในดินจนหัวแม่มือและนิ้วชี้ชิดกับดิน ถ้าหากพื้นที่เป็นดินปนทรายและแน่นทึบควรใช้ไม่แหลมขนาดเท่าฝักหรือใหญ่กว่าชนิดของฝักเล็กน้อย แทงเพื่อนำร่องก่อน เพื่อลดความกระทบกระเทือนของการเสียดสีระหว่างดินกับผิดของที่ปัก และเมื่อหย่อนฝักลงไปในหลุมที่เตรียมไว้แล้วให้กดดินบริเวณรอบๆโคนฝัก เพื่อไม่ให้โคนโยก โดยเฉพาะจากอิทธิพลของกระคลื่น กระแสลม


ต้นกล้าสำหรับปลูก

.... การปลูกแบบใช้ต้นกล้า ....

หมุนไม้หลักที่ปักในดินให้เป็นวงกลม  ลักษณะเหมือนกับการคว้านให้เป็นหลุม  จากนั้นฉีกถุงดำที่หุ้มรากกล้าออก  แล้วใส่ลงไปในหลุมที่คว้านไว้  กลบดินเป็นอันเสร็จ


….ระยะการปลูก….


สำหรับระยะของการปลูกพันธุ์ไม้ป่าชายเลน  ส่วนใหญ่จะใช้ระยะการปลูกประมาณ 1x1เมตรหรือ 1.5x1.5 เมตร หรือน้อยกว่านั้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ ต่างๆ กัน และวัตถุประสงค์อย่างอื่นของการปลูกด้วย เช่น  การปลูกเพื่อเป็นกำแพงกันคลื่นลมตามชายฝั่งทะเล การปลูกเพื่อเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำอาจจะปลูกระยะถี่ ประมาน 0.75x0.75 เมตรก็ได้

....ประโยชน์....

ป่าชายเลนเป็นแหล่งรวมพันธุ์สัตว์ชนิดต่างๆ ทั้งสัตว์บก สัตว์ปีกและสัตว์น้ำ นับว่ามีความสำคัญต่อการดำรงชีพของมนุษย์มากทั้งในเขตป่าชายเลนและตามแนวชายฝั่ง   โดยเฉพาะกุ้ง หอย ปู  ปลา  ที่มีมากมายหลายชนิดที่ชาวบ้านสามารถนำมารับประทานและขายเป็นรายได้ตลอดทั้งปี   ดังนั้นป่าชายเลน จึงเปรียบเสมือนตลาดสดสำหรับชุมชน ชุมชนชายฝั่งจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีได้นั้นจะต้องขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนเป็นหลัก นอกจากนั้นป่าชายเลนยังคอยเกื้อหนุนต่อทรัพยากรทางทะเล   เช่น    เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนชนิดต่างๆ  เป็นแหล่งอาหารของสัตว์น้ำนานาพันธุ์   ช่วยป้องกันการพังทลายชายฝั่งจากคลื่นลมและทำหน้าที่รักษาสมดุลของระบบนิเวศชายฝั่ง ที่เกื้อกูลต่อพันธุ์สัตว์และพรรณพืช รวมถึงลดมลภาวะทางอากาศและสิ่งปฏิกูลต่างๆ เป็นต้น  มีป่าชายเลนหลายแห่งที่ถูกทำลายและส่งผลต่อจำนวนของสัตว์น้ำที่ลดลง ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการทำมาหากินเป็นอย่างมาก 



วัตถุประสงค์ในการศึกษา


1.เพื่อศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลน
2.เพื่อต้องการทราบถึงปริมาณของทรัพยากรมีมากน้อยตามความต้องการเพียงใด
3.เพื่อศึกษาปัญหา และวิธีแก้ไขปัญหาของป่าชายเลน
4.ศึกษาประโยชน์ของการอนุรักษ์ป่าชายเลน

วิธีการศึกษา


1. ตั้งหัวข้องานที่สนใจ
2. สำรวจแหล่งเรียนรู้  โดยการสอบถามจากชาว
3. รวบรวมของมูลที่ได้และนำมาสรุปผล
4. จัดทำโครงงานเพื่อนำเสนอผลงาน


ระยะเวลา
26-28 สิงหาคม 2554

ขอบเขตการศึกษา
 ศึกษาการปลูกป่าชายเลนที่ท้องตมใหญ่


ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา


1.ได้เรียนรู้การปลูกป่าชายเลน
2.ได้เห็นทรัพยากรที่มีอยู่อุดมสมบรูณ์ และมีมากพอตามความต้องการ
3.มีความเข้าใจกับทรัพยากรป่าชายเลน และทรัพยากรสัตว์ที่อยู่คู่กันพึ่งพาอาศัยกัน
4.มีการสร้างจิตสำนึกที่ดีในการอนุรักษ์ และดูแลรักษา

สรุปผลการศึกษา

     จากการไปศึกษาดูงานที่บ้านท้องตมใหญ่ อ.สวี จ.ชุมพร พวกเราได้เรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่และการใช้ทรัพยากร การอนุรักษ์ ดูแลป่าชายเลนให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมือนเดิม ไม่ทำลาย ระบบนิเวศ และยังช่วยกันอนุรักษ์พันธุ์ปลาให้มีปริมาณมากขึ้นไม่จับปลาในบริเวณที่มีการบวชทะเล ทำให้บ้านท้องตมใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ มีปริมาณสัตว์ที่เพียงพอต่อความต้องการ เราได้เรียนรู้วิธีการปลูกป่าชายเลน ยังได้ลงมือปลูกกันอย่างสนุก การไปศึกษาดูงานครั้งนี้ได้รับประโยชน์เรื่องป่าชายเลนมากมาย ทั้งวิธีการปลูก การจับต้นกล้า การปลูกแบบใช้ฝัก และการปลูกแบบต้นกล้าที่ทำการเพราะชำไว้ ในการปลูกแบบฝักนั้นจะเจริญเติบโตดีกว่าแบบต้นกล้า 








จัดทำโดย
นางสาวศุภวรรณ จิระธรรมวรวุฒิ 54170079
นางสาวขวัญเรือน รอดไพร 54170190
นางสาวฐนิดา พินิจ54170192
คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ (ภาคปกติ)
มหาวิทยาลัยบูรพา